ประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิตกับการลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิต หนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบการลงทุนในระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำ และในขณะเดียวกันก็มีสภาพคล่องที่ต่ำด้วยเช่นเดียวกัน ในการประกันชีวิตสิ่งที่ได้จะเป็นความคุ้มครองตามสัญญาในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันชีวิตจะไม่สามารถนำเงินที่เป็นผลตอบแทนออกมาใช้ได้ก่อนครบกำหนดสัญญาได้ หรือถ้าได้ก็ต้องมีการยกเลิกสัญญาไปเลย และผลของสัญญาก็จะสิ้นสุดไปด้วย แต่สิ่งที่จะตามมาจากการทำประกันชีวิตก็คือ การได้รับสิทธิในการนำค่าเบี้ยประกันที่เราชำระไปในแต่ละเดือนมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้นั้นเอง แต่คำถามก็คือ เราใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีไปถูกต้องหรือไม่ โดยในวันนี้เราจะบอกเล่าถึงการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตมาฝากกันครับ

ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป ที่มีกำหนดอายุสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิตตลอดชีพ ประกันออมทรัพย์ โดยหลักการนี้จะต้องเข้าเงื่อนไขของกรมสรรพากร คือ ใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขอีกว่า หากมีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์คืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมที่จ่ายไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  • ส่วนที่หนึ่ง ลดหย่อน 10,000 บาท แรกสามารถใช้ร่วมกับสิทธิส่วนตัว
  • ส่วนที่สอง คือส่วนที่เกิน 10,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ในเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่เกิน 90,000 บาท

2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นแบบประกันที่จะจ่ายคืนผลประโยชน์ให้เป็นรายงวด งวดละเท่าๆกัน ตั้งแต่อายุ 55-85 ปี โดยตามหลักของกรมสรรพกร ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เพิ่มจากประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนำมารวมกับกองทุนอื่นๆแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายคนได้เข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ของการทำประกันชีวิตเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้ หากใครกำลังมองหาแผนประกันชีวิตแบบออมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท เราขอแนะนำ คิง ไว พรีเมียร์ เซฟวิ่ง18/8 แผนประกันชีวิตและออมทรัพย์ ที่ชำระค่าเบี้ยประกันเพียง 8 ปี แต่ได้รับความคุ้มครองสูงถึง 18 ปี พร้อมด้วยสิทธิในการลดภาษีสูงถึง 100,000 บาทต่อปี สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kwilife.com/premier-saving-18-8

One comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *